การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล
ทรัพยากรบุคคลถือเป็นจุดเริ่มต้น และเป้าหมายในการพัฒนาองค์กรของบริษัท บริษัทให้ความสำคัญกับการดูแลพนักงาน
และการพัฒนาทักษะในการทำงานทั้งในแนวกว้างและลึก ขยายขีดความสามารถ ศักยภาพของพนักงาน และสร้างผู้นำที่ดีที่นอกจากจะมีความสามารถทางด้านธุรกิจแล้วยังมีจิตสำนึกที่ดี มีการกำกับดูแลกิจการที่ดีเพื่อองค์กรและสังคม ซึ่งบริษัทได้พัฒนาบุคคลากรผ่านทางการอบรมทั้งภายในและภายนอกบริษัท มีการสร้างบรรยากาศในการทำงาน สร้างวัฒนธรรมองค์กรให้มีการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนและรับฟังความคิดเห็น และการทำโครงงานร่วมกันระหว่างฝ่ายเพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันเป็นทีม พนักงานในแต่ละฝ่ายมีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ทำให้นอกจากจะเกิดการพัฒนากระบวนการทำงาน พัฒนากระบวนการผลิต และการพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆ แล้วยังทำให้พนักงานมีความรู้สึกผูกพันและร่วมเติบโตไปพร้อมกับบริษัท บริษัทได้ปลูกฝังเรื่องของความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมให้กับพนักงานในองค์กรผ่านกิจกรรมต่างๆ ทำให้พนักงานตระหนักถีงความสำคัญต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ในการบริหารทรัพยากรบุคคลของบริษัทยังให้ความสำคัญกับการดูแลพนักงานให้พนักงานมีคุณภาพชีวิตที่ดี ให้ผลตอบแทนและสวัสดิการที่เป็นธรรม พนักงานมีอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน โดยบริษัทคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนเป็นหลักการสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิทธิ เสรีภาพ หรือความเสมอภาค รวมถึงการได้รับการปกป้อง คุ้มครองที่เป็นธรรม
แนวทางการบริหารจัดการ
การจ้างงาน/การเลิกจ้าง
บริษัทจะจ้างงานผู้ที่บรรลุนิติภาวะ และมีคุณสมบัติเหมาะสมตามเกณฑ์ ให้โอกาสอย่างเท่าเทียมกับคนทุกเพศ อายุ เชื้อชาติ
ศาสนา การศึกษา รวมถึงผู้พิการและกลุ่มคนผู้ด้อยโอกาสอื่นๆ โดยหมั่นตรวจตราไม่ให้บริษัทเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน ได้แก่ ไม่มีการบังคับใช้แรงงาน (forced labour) และ ต่อต้านการใช้แรงงานเด็ก (child labour) ตลอดจนการปฏิบัติต่อ พนักงานและผู้สมัครงาน อย่างโปร่งใสและเป็นธรรมในทุกกระบวนการสรรหา
การเลิกจ้างพนักงานของบริษัท จะต้องดําเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้อย่างถูกต้อง และปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเป็น
ธรรม เคารพและคํานึงถึงสิทธิมนุษยชน ให้เป็นตามแนวทางของกฏหมายแรงงานและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 บริษัทมีพนักงาน (ไม่รวมผู้รับเหมา) โดยแบ่งตามสายงานหลักดังนี้
การจ้างงานพนักงาน | 2565 | 2566 | 2567 |
รวมพนักงาน (คน) | 481 | 481 | 513 |
พนักงานชาย (คน) | 481 | 386 | 415 |
พนักงานหญิง (คน) | 387 | 95 | 98 |
จำนวนพนักงานแยกตามช่วงอายุและเพศ
จำนวนพนักงานชายแยกตามช่วงอายุ (หน่วย:คน)
ช่วงอายุ | 2565 | 2566 | 2567 |
จำนวนพนักงานชาย อายุ น้อยกว่า 30 ปี | 104 | 102 | 116 |
จำนวนพนักงานชาย อายุ 30-50 ปี | 198 | 197 | 213 |
จำนวนพนักงานชาย อายุ มากกว่า 50 ปี | 85 | 87 | 86 |
รวมจำนวนพนักงานชายทั้้งหมด | 387 | 386 | 415 |
จำนวนพนักงานหญิงแยกตามช่วงอายุ (หน่วย:คน)
ช่วงอายุ | 2565 | 2566 | 2567 |
จำนวนพนักงานหญิง อายุ น้อยกว่า 30 ปี | 26 | 28 | 29 |
จำนวนพนักงานหญิง อายุ 30-50 ปี | 57 | 54 | 54 |
จำนวนพนักงานหญิง อายุ มากกว่า 50 ปี | 11 | 13 | 15 |
รวมจำนวนพนักงานหญิงทั้้งหมด | 94 | 95 | 98 |
บริษัทมีการจ้างงานผู้พิการโดยเป็นไปตามพรบ.แห่งกฎหมายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ว่าด้วยการกำหนดว่า
จ้างงานผู้พิการในอัตรา 1 ต่อ 100 คน จากพนักงานประจำทั้งหมดของบริษัท และหากเศษของ 100 เกิน 50 คน ต้องว่าจ้างผู้พิการเพิ่มอีกหนึ่งคน ซึ่งการว่าจ้างผู้พิการของบริษัทในปี 2567 เป็นไปตามที่กำหนดใน พรบ. ดังกล่าว ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567
การจ้างงานผู้พิการ | 2565 | 2566 | 2567 |
การจ้างงานผู้พิการรวม (คน) | 5 | 5 | 5 |
พนักงานผู้พิการรวม (คน) | 5 | 5 | 5 |
พนักงานผู้พิการชาย (คน) | 4 | 4 | 4 |
พนักงานผู้พิการหญิง (คน) | 1 | 1 | 1 |
ลูกจ้างผู้พิการที่ไม่ใช่พนังงาน (คน) | 0 | 0 | 0 |
การส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ | มี | มี | มี |
การพัฒนาพนักงานและการฝึกอบรม
บริษัทให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของพนักงาน โดยกำหนดเป็นแผนพัฒนาและแผนฝึกอบรบประจำปีและให้
การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมและการสัมมนา ทั้งภายในองค์กร และสถาบันภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านต่างๆ ตามความเหมาะสม เพื่อส่งเสริมให้พนักงานได้รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถ และพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นตามกลุ่มวิชาชีพ พร้อมผลักดันให้พนักงานเติบโตและก้าวหน้าไปพร้อมกับบริษัท สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป
ในปี 2567 บริษัทจัดหลักสูตรอบรมพนักงานเพื่อเพิ่มทักษะและศักยภาพในการทำงานให้แก่พนักงานจำนวนรวมกว่า
93 หลักสูตร โดยมีชั่วโมงการเรียนรู้พัฒนาผ่านการอบรม เฉลี่ยประมาณ 16.21 ชั่วโมงต่อคนต่อปี และมีค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมทั้งหมด 2.94 ล้านบาท
เป้าหมาย :
สามารถจัดฝึกอบรมและดำเนินการอบรม หรือดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพ
หรือส่งเสริมความรู้แก่พนักงานตามแผนงานประจำปีได้ 100%
ในปี 2567 บริษัทสามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมาย 100%
การฝึกอบรมและพัฒนาพนักงาน | 2565 | 2566 | 2567 |
จำนวนชั่วโมงอบรมเฉลี่ยของพนักงาน (ชั่วโมง/คน/ปี) | 10.5 | 13.14 | 16.21 |
ค่าตอบแทนพนักงานชาย (บาท) | 1,876,670.32 | 1,827,167.14 | 3,642,473.97 |
ค่าตอบแทนพนักงาน
บริษัทให้ความสำคัญกับค่าตอบแทนพนักงานว่าต้องเป็นอัตราที่เหมาะสมกับความรู้และความสามารถของพนักงาน และ
สภาพเศรษฐกิจ สอดคล้องกับอัตราผลตอบแทนในตลาด เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและจูงใจให้พนักงานทำงานกับบริษัทในระยะยาว และสำหรับพนักงานฝ่ายผลิตบริษัทมีระบบการให้ผลตอบแทนพนักงานทั้งตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนดและบวกส่วนเพิ่มตามจำนวนชิ้นงานที่พนักงานทำได้มากกว่าอัตราขั้นต่ำที่บริษัทกำหนด นอกจากนี้บริษัทยังมีการทบทวนอัตราการจ่ายค่าตอบแทนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดได้ พร้อมกับจ่ายโบนัสตามผลประกอบการของบริษัทในแต่ละปี
2565 | 2566 | 2567 | |
ค่าตอบแทนพนักงานรวม (บาท) | 393,683,853 | 355,387,231 | 411,259,698 |
ค่าตอบแทนพนักงานชาย (บาท) | 296,437,528 | 269,630,896 | 314,465,550 |
ค่าตอบแทนพนักงานหญิง (บาท) | 97,246,325 | 85,756,335 | 96,794,148 |
สวัสดิการพนักงาน
สวัสดิการที่บริษัทมีนอกเหนือจากที่บังคับตามกฎหมาย เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของพนักงาน แบ่งเป็นด้านต่างๆ ดังนี้
- สวัสดิการเพื่อช่วยเหลือด้านค่าครองชีพของพนักงาน ได้แก่ การจัดให้มีโรงอาหารเพื่อขายอาหารในราคาพิเศษให้แก่
พนักงานการให้เบี้ยขยัน ค่าเข้ากะ ค่าครองชีพ ค่าน้ำมัน รถรับส่งพนักงาน ประกันชีวิต ชุดฟอร์ม เป็นต้น - สวัสดิการเพื่อช่วยเหลือการออมเงินของพนักงาน บริษัทได้จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดูแลผลประโยชน์ระยะยาว
ของพนักงาน และเป็นการส่งเสริมการออม และเป็นแรงจูงใจให้พนักงานปฏิบัติงานกับบริษัทเป็นระยะเวลานาน โดยเงินที่สมทบเข้ากองทุนของพนักงาน จะหักจากเงินเดือน หรือค่าจ้างทุกเดือนในอัตราที่ระบุไว้ โดยบริษัทจะสมทบเงินเข้ากองทุนในอัตราเดียวกัน เมื่อพนักงานพ้นสภาพพนักงานจะได้เงินสมทบพร้อมกับผลประโยชน์ของกองทุนตามเกณฑ์ที่ได้ตั้งไว้ รวมทั้งบริษัทยังได้มีโครงการสินเชื่อสวัสดิการเงินกู้ สำหรับพนักงานที่เป็นสมาชิก กองทุนสำรองเลี้ยงชีพอีกด้วย - สวัสดิการที่เกี่ยวกับสถาบันครอบครัวของพนักงาน ได้แก่ เงินแสดงความยินดีการสมรส เงินช่วยเหลือการคลอดบุตร
เงินช่วยเหลือกรณีบุคคลในครอบครัวของพนักงานถึงแก่กรรม และการให้ทุนการศึกษาแก่บุตรพนักงานที่เรียนดี - สวัสดิการเกี่ยวกับความมั่นคงในอนาคตของพนักงานและครอบครัว ได้แก่ จัดให้มีเงินบำเน็จแก่พนักงานหลังจาก
เกษียณอายุ เงินช่วยเหลือกรณีพนักงานถึงแก่กรรม - สวัสดิการที่เกี่ยวกับคุณภาพชีวิต สภาพแวดล้อมในการทำงาน และความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน ได้แก่
- การให้ประกันสุขภาพแก่พนักงาน เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลยามเจ็บป่วย
- การให้อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยให้เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมในการทำงานของพนักงานแต่ละคน
- จัดให้มีการตรวจสอบความปลอดภัยของสถานที่ทำงานสม่ำเสมอ มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยตลอด
24 ชั่วโมง ติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) ติดตั้งระบบสัญญาณเตือนภัยภายในอาคาร ถังดับเพลิง ประตูหนีไฟ - จัดให้มีการฝึกซ้อมดับเพลิงเบื้องต้น ฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่พนักงานต่อเนื่องทุกๆ ปี
- การจัดให้มีห้องพยาบาลของบริษัท โดยจัดให้มีพยาบาล เวชภัณฑ์และยาที่จำเป็นอย่างครบถ้วน พร้อมกับมีรถพยาบาลเตรียมพร้อมสำหรับเหตุฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง
- จัดให้มีการตรวจสุขภาพประจำปีสำหรับพนักงานทั่วไป และตรวจเพิ่มเติมตามปัจจัยความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ เพื่อให้ทราบถึงผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงานอันเกิดจากการทำงาน ได้แก่ การตรวจสมรรถภาพการได้ยิน การทดสอบสมรรถภาพการมองเห็น การตรวจหาสารเคมี ได้แก่ ตะกั่ว และไซลีน ในร่างกาย พร้อมกับมีการให้คำปรึกษา และคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพทั่วไป
การให้ความเป็นธรรมแก่พนักงาน
บริษัทจัดให้มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนเป็นการเฉพาะเมื่อมีกรณีการทำผิดกฎระเบียบบริษัทหรือการทุจริตเกิดขึ้น และ
ให้สิทธิพนักงานที่ถูกบ่งชี้ความผิด หรือทุจริตต่อหน้าที่การงานให้โต้แย้งเพื่อพิสูจน์ตนเอง พร้อมทั้งมีการบันทึกผลการสอบสวนและรายงานให้ผู้บริหารทราบ เพื่อให้เกิดกระบวนการยุติธรรมในการพิจารณาโทษ และไม่ให้เกิดการเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม
การสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงาน
บริษัทมีการสำรวจความพึงพอใจของพนักงานเป็นประจำทุกปี โดยหัวข้อที่ทำการสำรวจ เกี่ยวกับเรื่องเป้าหมายขององค์กร
ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรและโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ผลตอบแทนพนักงาน สวัสดิการพนักงาน รวมถึงสภาพแวดล้อมความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อที่บริษัทจะได้นำผลการประเมินมาวิเคราะห์เพื่อการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการดูแลพนักงานให้ดียิ่งขึ้นและทันเวลา เพื่อที่พนักงานจะได้ทำงานได้อย่างมีความสุข เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และลดอัตราการลาออกหรือการย้ายงานขององค์กร ซึ่งบริษัทกำหนดให้สำรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งในช่วงปลายปีของทุกปี
โดยผลการประเมินความพึงพอใจย้อนหลัง 3 ปี เป็นดังนี้
คะแนนการประเมินความพึงพอใจแบ่งออกเป็น 1 ถึง 5 คือ
(1) ไม่พึงพอใจ (2) พึงพอใจน้อย (3) พึงพอใจปานกลาง (4) พึงพอใจมาก และ (5) พึงพอใจมากที่สุด
ปี 2567 เท่ากับ 73% อยู่ในระดับ 4 (มีพนักงานตอบแบบสอบ คิดเป็น 73%)
ปี 2566 เท่ากับ 70% อยู่ในระดับ 4 (มีพนักงานตอบแบบสอบ คิดเป็น 71%)
ปี 2565 เท่ากับ 66% อยู่ในระดับ 4 (มีพนักงานตอบแบบสอบ คิดเป็น 66%)
เป้าหมาย
ความพึงพอใจของพนักงาน ประจำปี 2567 >= 70%
สำหรับปี 2567 มีจำนวนผู้ที่ร่วมตอบแบบสอบถามโดยสมัครใจและไม่ระบุตัวตนทั้งหมด 369 คน จากพนักงานทั้งหมด 513
คน หรือคิดเป็น 73% ของพนักงานทั้งหมด ผลสำรวจความพึงพอใจของพนักงานประจำปี 2567 พบว่าคะแนนเฉลี่ยโดยรวมอยู่ที่ 73% ลดลงจากปี 2566 ที่คะแนนเฉลี่ยโดยรวม 70% จากข้อมูลแบบสอบถามพบว่าพนักงานมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ 4 “พึงพอใจมาก”(จากทั้งหมด 5 ระดับ) ในทุกหัวข้อโดยเฉพาะในด้านความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาและเติบโตไปพร้อมกับบริษัทที่มีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมสูงที่สุด เพิ่มโอกาสในการสร้างความสัมพันธ์ และการพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างพนักงานกับผู้บริหารโดยตรงเพิ่มขึ้น ผลการประเมินดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าพนักงานส่วนใหญ่เข้าใจในวิสัยทัศน์และมุมมองเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับองค์กร ตลอดจนรู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนองค์กร พร้อมที่จะเติบโตไปกับองค์กร และพนักงานส่วนใหญ่ยังรู้สึกพอใจในการดูแลพนักงานของบริษัท รวมทั้งบริษัทยังคงนำความคิดเห็นของพนักงานมาปรับปรุงการบริหารงานบุคคลอย่างต่อเนื่อง

อัตราการลาออก
ในช่วงเวลา 3 ปีที่ผ่านมา บริษัทมีอัตราการลาออกของพนักงานเฉลี่ยอยู่ที่ 11% ของจำนวนพนักงานทั้งหมด และเป็นการลา
ออกโดยสมัครใจทั้งสิ้น จากการเปรียบเทียบกับข้อมูลอัตราการลาออกในอุตสาหกรรมเดียวกันกับบริษัท พบว่าอัตราการลาออกของบริษัทน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่ม1 นอกจากนี้พนักงานที่สมัครใจลาออกทุกคนจะได้รับการสัมภาษณ์ถึงสาเหตุการลาออก เพื่อที่บริษัทจะเก็บรวบรวมไว้เป็นข้อมูลสำหรับนำไปวิเคราะห์ พัฒนาและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของพนักงานต่อไป
หมายเหตุ1 : ข้อมูลจากแบบสำรวจข้อมูล Salary Increase & Bonus Survey 2024-2025 ของ HR Center
อัตราการลาออก | 2565 | 2566 | 2567 |
พนักงานที่ลาออกโดยความสมัครใจรวม (คน) | 52 | 54 | 62 |
พนักงานขายที่ลาออกโดยสมัครใจ (คน) | 40 | 46 | 52 |
พนักงานหญิงที่ลาออกโดยสมัครใจ (คน) | 12 | 8 | 10 |
สัดส่วนพนักงานที่ลาออกโดยสมัครใจ (%) | 10.81 | 11.23 | 12.09 |
ผลประเมินความผูกพันของพนักงานขององค์กร | มี | มี | มี |